
4 จุด สุดอันตราย ในบ้านของคุณ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
1.เหตุที่เกิดบ่อย “หน้าต่าง”
นอกจากเป็นช่องให้แสงและลมเข้าสู่ภายในบ้านแล้ว หน้าต่างยังเป็นจุดอันตรายจุดหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก บางครั้งอาจเผลอซนจนตกลงไป หรือบางครั้งหากเกิดลมแรงๆก็อาจพัดให้หน้าต่างเปิด-ปิดเกิดอันตรายได้เช่นกัน

กันชนยางหรือแม่เหล็กช่วยป้องกันบานเลื่อนกระแทกกับวงกบได้ โดยหากเลื่อนเปิด-ปิดแรงๆ ควรติดตั้งตัวหยุดไว้ในวงกบด้วย

หน้าต่างบานกระทุ้งหรือบานเปิดควรติดตัวล็อกไว้ทุกบาน ไม่อย่างนั้นหากเกิดลมแรงก็อาจมีโอกาสตีหน้าต่างให้กระแทกกับวงกบแรงๆจนเกิดความเสียหายได้

สำหรับหน้าต่างบานเลื่อน หรือบานเปิดเต็มถึงพื้นของบ้านชั้นสองขึ้นไป ควรกั้นราวกันตกให้สูงสักประมาณ 90-110 เซนติเมตร เพื่อความ
2.เหตุเกิดบ่อยที่ “ประตู”
ควรเลือกใช้ประตูบานเปิด ประตูบานเลื่อน และประตูบานเฟี้ยมที่กั้นทางเข้า-ออกภายในบ้าน ให้เหมาะกับพื้นที่ ซึ่งแต่ละบานหนักเป็นสิบๆกิโลกรัม หากติดตั้งไม่ดีอาจใช้งานลำบากและเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นโดนประตูหนีบ ประตูตีกลับ ชนประตู ขังตัวเอง หรือประตูตกร่อง

หากเป็นบานประตูที่ต้องเปิดค้างเป็นประจำ เช่น ประตูหน้าบ้าน ประตูหลังบ้าน ควรมีตัวหยุดประตูติดกับผนังหรือพื้น ป้องกันประตูตีกลับ โดยหากส่วนของประตูมีพื้นที่พอ อาจใช้แบบแม่เหล็กติดผนัง แต่ถ้าในบริเวณนั้นมีลมแรง ควรใช้แบบตัวขอเกี่ยว ก็จะมั่นคงกว่า

โช๊กอัพเป็นอุปกรณ์ช่วยกันประตูหนีบมือและป้องกันการเกิดเสียงดังรบกวนได้ดี เหมาะกับส่วนที่ใช้งานประจำ นื่องจากออปชันการิตั้งตั้งและออปชันการปรับตั้งที่ยืดหยุ่น โช้คอัพประตูรุ่นนี้จึงเข้ากับประตูประเภทต่าง ๆ และเสริมรูปลักษณ์ให้สวยงามได้

สำหรับประตูตรงส่วนทางเดินที่มักใช้เข้า-ออกทั้งสองทาง ควรมีช่องโปร่งให้เห็นได้บ้าง กันการเปิดกระแทกพร้อมกันสองด้าน

บานประตูโครงไม้อัดทั่วไปควรติดบานพับ 4 จุด (ค่อนไปทางด้านบนของประตู 2 จุด) เพื่อช่วยรับน้ำหนักและเปิดง่ายเบามือ(ภาพมือจับ) มือจับแบบฝังในบานประตูเหมาะจะใช้กับพื้นที่เล็กๆแคบๆ เพราะช่วยให้ไม่เกี่ยวหรือชนกับมือจับ

สำหรับห้องที่ไม่มีของสำคัญหรือมีเด็กอยู่ด้วย ควรใช้ระบบล็อกแบบที่สามารถใช้เหรียญไขล็อกได้ (มีให้เลือกทั้งแบบลูกบิดและก้านโยก) เผื่อกรณีฉุกเฉินหาแม่กุญแจไม่เจอ
3.เหตุเกิดบ่อยที่ “ทางเข้าบ้าน”
ส่วนเดินผ่านเข้า-ออกระหว่างในบ้านกับนอกบ้านมักเป็นพื้นต่างระดับ และพื้นนอกบ้านอาจมีน้ำขังเฉอะแฉะได้ ทั้งจากน้ำฝนและน้ำกับโคลนที่ติดมากับรองเท้า จึงควรระมัดระวังเส้นทางสัญจรหลักเข้าสู่ตัวบ้านนี้ให้ดี

สำหรับคนที่ชอบเดินเตะธรณีประตูเป็นประจำ ลองหาพรมนุ่มๆเท้าที่มีสีต่างจากพื้น และด้านหลังเป็นแผ่นยาง ก็จะยึดเกาะพื้นได้ดีขึ้น

มือจับประตูควรมีขนาดใหญ่และจับถนัดมือ เช่น แบบก้านโยกหรือแบบกด ไม่ควรใช้แบบลูกบิดหมุน เพราะลื่นมือ และเวลาหิ้วข้าวของพะรุงพะรังก็เปิดยากด้วย

พรมกาบมะพร้าวที่หลายบ้านนิยมใช้มักมีระดับสูงจนอาจเดินสะดุดล้มได้ แนะนำให้เซาะร่องพื้นเพื่อวางแบบฝังในพื้นจะดีกว่า ระดับความสูงจะได้ไม่ต่างกันเกินไป หรือทางที่ดีที่สุดอาจเลือกใช้พรมยางแบนๆ ที่มีขอบลาดก็ได้

ประตูหน้าควรกว้างและใหญ่กว่าประตูปกติ ควรเลือกใช้ประตูบานสวิงที่เปิดออกภายนอก และทำพื้นด้านหน้าเตี้ยกว่า จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องสะดุดธรณีประตู แถมยังกันสัตว์ตัวเล็กๆแอบเล็ดลอดเข้าบ้านได้ด้วย

สวิตซ์ไฟควรอยู่ใกล้ประตูในระดับความสูงที่สามารถเอื้อมเปิดในความมืดได้ง่ายที่สุด ควรเลี่ยงทำช่องเสียบปลั๊กไฟในบริเวณใกล้เคียงกันโดยเด็ดขาด เพราะอาจคลำพลาด นิ้วมือเข้าไปโดนชอร์ตได้

อาจต่อเติมชายคาหรือหลังคากันสาดจากโรงรถ จะช่วยกันฝนสาดและน้ำฝนไม่ไหลย้อนเข้าบ้าน พร้อมกำหนดความชันหลังคาให้น้ำฝนไหลพ้นไปจากทางสัญจร

ถ้าไม่สามารถต่อทางลงของปลายท่อไปที่ทางระบายน้ำได้โดยตรง ควรต่อโซ่หรือเส้นเชือกจากปลายท่อให้ลงมาสู่ภาชนะรองน้ำด้านล่าง เช่น โอ่ง หรือพื้นโรยหินกรวด เพื่อให้น้ำไม่กระเด็นเลอะทางเดิน
4.เหตุเกิดบ่อยที่ “บันได”
เป็นจุดเกิด”อุบัติเหตุในบ้าน”บ่อยที่สุด เพราะแคบและเป็นพื้นที่ต่างระดับ แม้กฎหมายจะระบุขนาดของลูกนอนและลูกตั้งไว้แล้ว แต่ในการใช้งานจริงขนาดดังกล่าวอาจเล็กเกินไป ดังนั้นควรอออกแบบให้เหมาะกับแต่ละบ้านจะดีกว่า โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุ นอกจากนี้ก็อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องวัสดุที่ใช้ด้วย

เพิ่มไฟตามขั้นบันไดในกรณีที่ทางเดินมืดทึบ แต่ควรออกแบบไว้แต่แรก เพราะจะสามารถเก็บซ่อนไฟให้เสมอกับขอบบันไดได้โดยไม่ยื่นเกะกะ

นอกจากช่วยเพิ่มความกว้างของลูกนอนแล้ว ยังช่วยป้องกันการลื่นไถลขณะก้าวเดิน รูปแบบของจมูกบันไดมีได้ทั้งการเซาะร่องเพื่อกันลื่น และใช้วัสดุชนิดเดียวกับลูกนอน แต่ทำผิวหยาบ โดยควรตกแต่งส่วนปลายให้โค้งมน ลดมุมแหลม

หากมีเด็กเล็กในบ้าน การใช้ราวบันไดแบบปิดทึบปลอดภัยที่สุด เพื่อป้องกันการลอดผ่านซี่ลูกกรง แต่หากเลือกใช้แบบลูกกรง ลักษณะแบบกลมมนจะช่วยลดการบาดเจ็บได้(ทางขึ้นลง) หาที่กั้นปิดทางไว้ตั้งแต่บริเวณขึ้น-ลง เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก สูตรการหาขนาดลูกตั้งและลูกนอนที่เหมาะสมคือ 2 X ความสูงของลูกตั้ง + ความกว้างของลูกนอน จะต้องเท่ากับ 59-63 (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของระยะการก้าวขาของคนทั่วไปนั่นเอง

ความสูงของลูกตั้งต้องสัมพันธ์กับขนาดของลูกนอน เพราะอุบัติเหตุมักเกิดจากการสะดุดความสูงเฉลี่ยที่ต่างกันในแต่ละขั้น ในช่วงขั้นแรกๆ และขั้นสุดท้าย